วันพุธที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2558

บทที่ 4 นิราศนรินทร์คำโคลง


    ความเป็นมา  นิราศ เป็นงานประพันธ์ประเภทหนึ่งของไทยที่มีมาตั้งแต่สมัยโบราณ เท่าที่ปรากฏหลักฐานในปัจจุบัน นิราศเรื่องแรกของไทยนั้นคือ โคลงนิราศหริภุญชัย ซึ่งแต่งในสมัยกรุงศรีอยุธยา  ๑.๑ ลักษณะของนิราศ   พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พุทธศักราช ๒๕๔๒ อธิบายว่า นิราศหมายถึง เรื่องราวที่พรรณนาถึงการจากกันหรือจากที่อยู่ไปในที่ต่างๆ  ๑.๒ เนื้อหาของนิราศ  เนื้อหานิราศส่วนใหญ่มักเป็นการคร่ำครวญของกวี (ชาย) ต่อสตรีอันเป็นที่รักเนื่องจากต้องพลัดพรากจากนางมาไกลไม่ว่าจะเป็นด้วยเหตุใดก็ตาม   อ่านต่อ...

บทที่ 3  นิทานเวตาล เรื่องที่ ๑๐

     เวตาล  เป็นชื่อตัวละครตัวเอกของเรื่อง นิทานเวตาลมีหลายเรื่อง   ผู้แปล  พระราชวรวงศ์เธอกรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ (น.ม.ส.)  พระนามเดิม พระองค์เจ้ารัชนี  แจ่มจรัส  นามแฝง  น.ม.ส. นำมาจากพยัญชนะตัวสุดท้ายของชื่อ และนามสกุล  ลักษณะการแต่ง  ร้อยแก้วประเภทนิทาน  มีคำประพันธ์แทรกบ้างบางตอน  ที่มาของเรื่อง   น.ม.ส. ทรงใช้นิทานเวตาลฉบับภาษาอังกฤษของเซอร์ริชาร์ด เอฟ เบอร์ ตัน เป็นหลัก   อ่านต่อ...

บทที่ 2 อิเหนา  ตอน  ศึกกะหมังกุหนิง
     อิเหนา  เป็นบทละครพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย  เป็นบทละครที่วรรณคดีสโมสรยกย่องให้เป็นยอดของบทละครรำ  เพราะเป็นหนังสือซึ่งแต่งดีพร้อมทั้งเนื้อหา  ทั้งความไพเราะ  ทั้งกระบวนที่จะเล่นละครประกอบกัน  และยังเป็นหนังสือดีในทางที่จะศึกษาประเพณีไทยสมัยโบราณ  พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยทรงพระราชนิพนธ์ตรงตามตำราทุกอย่าง  แม้บทละครเรื่องอิเหนาจะมีเค้าเรื่องมาจากนิทานพื้นเมืองชวา    อ่านต่อ...
บทที่1 คำนมัสการคุณานุคุณ
    คำนมัสการคุณานุคุณ เป็นผลงานการประพันธ์ของพระยาศรีสุนทร-
โวหาร  (น้อยอาจารยางกูร)   มีเนื้อหาว่าด้วยการน้อมรำลึกและสำนึกใน
คุณงามความดี ของพระพุทธ  พระธรรม พระสงฆ์  บิดามารดา และ
ครูอาจารย์ โดยมีความมุ่งหมาย ให้ผู้อ่าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเยาวชนไทย
 ยึดมั่นในความกตัญญูต่อผู้มีพระคุณและ นำแบบอย่างอันดีงามไปปรับใช้
ในชีวิตประจำวันได้อย่างถูกต้องเหมาะสม    อ่านต่อ...